วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

VDO สนุกๆ มีประโยชน์ เรื่องการย่อยอาหาร




ระบบย่อยอาหาร

     ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ  ได้แก่  ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ตับ  ตับอ่อน  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
      การย่อยอาหาร  เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้
การย่อยมี  2  ลักษณะคือ
          1.  
การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) คือ อาหารที่ถูกฟันบดเคี้ยวทำให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่สามารถแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง 
          2.  
การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) คือ อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลให้เล็กลงไปอีกโดยเอนไซม์ในน้ำลาย จะมีน้ำย่อยอยู่ 
          การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก  ลิ้น  ฟัน  ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ




การย่อยอาหารในปาก
          ปากเป็นอวัยวะสำคัญเริ่มแรกสำหรับการย่อยอาหารทำหน้าที่เป็นทางเข้าอาหาร  ภายในปากมีส่วนประกอบที่สำคัญคือลิ้น ฟันและต่อมน้ำลายการย่อยอาหารในปากจึงมีทั้งการย่อยเชิงกล  โดยการบดเคี้ยวของฟัน   และการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส  เมื่ออาหารผ่านสู่กระเพาะอาหาร  เอนไซม์อะไมเลสจะไม่ทำงานเพราะในกระเพาะอาหารมีกรดไฮโดรคลอริก (อะไมเลสทำงานได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือกรดเล็กน้อย และอุณหภูมิร่างกาย)



ลิ้น  (Tongue)  เป็นกล้ามเนื้อซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วในหลายทิศทาง ทำหน้าที่ช่วยในการกลืน ลิ้นทำหน้าที่ในการรับรสอาหาร  เพราะที่ลิ้นมีปุ่มรับรส  เรียกว่า  Taste Bud  อยู่  4  ตำแหน่ง  คือ
รสหวาน            อยู่บริเวณปลายลิ้น
รสเค็ม               อยู่บริเวณปลายลิ้นและข้างลิ้น
รสเปรี้ยว           อยู่บริเวณข้างลิ้น
รสขม                อยู่บริเวณโคนลิ้น  


ต่อมน้ำลาย
1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น
2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง
3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู มีท่อนำสารออก เรียกว่าท่อ สเตนสัน(Stenson's duct) ถ้าหากมีเชื้อไวรัสเข้าไปที่ต่อมนี้ จะทำให้เกิดโรคคางทูม (mump) น้ำลาย(Saliva) มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีปริมาณแคลเซียม สูงมาก ทำหน้าที่ละลายอาหาร ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง และ ช่วยในการเคลื่อนไหวของลิ้นขณะพูด ศูนย์ควบคุมการ หลั่งน้ำลาย คือสมองส่วนที่อยู่ระหว่าง medulla obongata และ pons



น้ำลาย (Saliva) ประกอบด้วย
1. เอนไซม์อะไมเลส (amylase) ช่วยย่อยสลายคาร์โบ ไฮเดรต
2. น้ำ (99.5%) เป็นตัวทำละลายสารอาหาร
3. เมือก(mucin) เป็นสารคาร์โบไฮเดรตผสมโปรตีน ทำให้ อาหารรวมกันเป็นก้อน ลื่น และกลืนสะดวก การหลั่งน้ำลาย (Salivation) จะเกิดเมื่อระบบประสาทพารา ซิมพาเธติก ถูกกระตุ้น


การย่อยของน้ำลาย

การทดสอบแป้ง ใช้สารละลายไอโอดีน (สีน้ำตาลแกม
เหลือง) ถ้ามีแป้ง(starch) จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
การทดสอบน้ำตาล ใช้สารละลายเบเนดิกต์ ซึ่งมีสีฟ้า
จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง แต่น้ำตาลซูโครสไม่เปลี่ยนสี
คลอเลสเตอรอล(Cholesterol) ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่ว
ในถุงน้ำดี(Gallstones) เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดี
ซ่าน (Jaundice) มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมัน
บกพร่อง


หลอดอาหาร
     ทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยึดและหดตัวได้บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหารส่วนบนของหลอดลมมีแผ่นกระดูกอ่อนปิดกั้นกัน อาหารเข้าไปในหลอดลมขณะกลืนอาหารเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ภายในโพรงปาก ด้านบนมีเพดานอ่อน (soft palate) ห้อยโค้งลงมาใกล้กับโคนลิ้นขณะที่อาหารผ่านเข้าสู่ลำคอ เพดานอ่อนจะถูกดันยกไปปิดช่องหายใจ อากาศผ่านช่องนี้ไม่ได้ อาหารนั้นจะถูกกล้ามเนื้อลิ้นบังคับให้ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารได้พร้อมกับฝาปิดกล่องเสียงจะปิดหลอดลมในขณะที่ส่วนกล่องเสียงทั้งหมด ยกขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงปิดหลอดลมได้สนิท อาหารจึงเคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไม่ผลัดตกลงไปในหลอดลม


กระเพาะอาหาร
          กระเพาะอาหาร (Stomach)เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร




         หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือเอนไซม์เพพซิน (pepsin) โดยในช่วงแรก เอนไซม์นี้จะถูกผลิตออกมาในรูปของเพพซิโนเจน (pepsinogen) ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นเพพซินเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้ว กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ ไอออนต่างๆ รวมทั้งแอลกอฮอลล์ แอสไพริน และคาเฟอีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคือการผลิตสารที่เรียกว่า อินทรินซิค แฟคเตอร์ (intrinsic factor) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมไวตามิน บี12
         กายวิภาคศาสตร์ของกระเพาะอาหาร

         กระเพาะอาหารวางตัวอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้อง โดยอยู่ระหว่างหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น และมีบางส่วนที่สัมผัสกับกระบังลม และมีตับอ่อนวางอยู่ใต้กระเพาะอาหารด้วย ที่ส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหารยังมีเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) ห้อยลงมาคลุมอวัยวะอื่นๆในช่องท้องอีกด้วย ที่บริเวณติดต่อกับหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น จะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการเข้าออกของสารภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร(esophageal หรือ cardiac sphincter)ซึ่งแบ่งระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดไพลอริค (pyloric sphincter) ซึ่งแบ่งระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กตอนต้น

     

       

      กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ซึ่งจะมีโครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่ส่วนบนสุด ปากกระเพาะ หรือส่วนคาดิแอค (cardiac) เป็นส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร



น้ำย่อยในกระเพาะอาหารสร้าง pHที่เหมาะสม : gastric juice และ HCl(กรดสูง)เอนไซม์ : pepsin และ rennin
ย่อย : pepsinย่อย protein และ rennin ย่อย proteinในน้ำนม
ผลที่ได้ : เอนไซม์ pepsin ได้ peptide และเอนไซม์ rennin
ได้ลักษณะเป็นลิ่ม ๆ (Paracasein)


ลำไส้เล็ก  (Small Intestine)  เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร  ต่อมาจากกระเพาะอาหาร  มีความยาวประมาณ 7-8เมตร  ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง  มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม  เรียกว่า  วิลลัส  (Villus  พหูพจน์เรียกว่า  Villi)  เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ


  น้ำย่อยของลำไส้เล็ก  (Intestinal Juices)  เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากผนังของลำไส้เล็กเอง  ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด  ดังนี้                ไดเปปดิเดส  (Dipeptidase)ย่อยDipeptide ได้   Amino  Acid
        มอลเทส  (Maltase)  ย่อย  Maltose            ได้ Glucose  +  Glucese
  

        ซูเครส  (Sucraes)  ย่อย  Sucrose             ได้Glucose  +  Fructise
        

        แลกเตส  (Lactaes)  ย่อย  Lactose             ได้Glucose  +  Galactose

        ไลเปส  (Lipaes)  ย่อย  Fat                         ได้Fatty  Acid  +  Glycerol

        
นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกหลายชนิดที่ช่วยย่อยสลายเปปไตด์  (Peptide)จนได้  Amino Acid  เช่น  Carboxypeptidase  และ  Aminopeptidase

  การย่อยอาหารในลำไส้เล็กมี  2  วิธีการย่อยเชิงกล  (Mechanical Digestion)  มีแบบสำคัญคือ
     
1.  การหดตัวเป็นจังหวะ  (Rhythmic Segmentation)  เป็นการหดตัวที่ช่วยให้อาหาร
ผสมคลุกเคล้ากับน้ำย่อย  หรือช่วยไล่อาหารให้เคลื่อนที่ไปยังทางเดินอาหารส่วนถัดไป  อาจมีจังหวะเร็ว  15-20 ครั้ง/นาที  หรือช้า  2-3 ครั้ง/นาที
     
2. เพอริสตัลซิส  (Peristalsis)เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารเป็นช่วง ๆ  
ติดต่อกัน  การเคลื่อนไหวแบบนี้จะช่วยผลักอาหาร  หรือบีบไล่อาหารให้เคลื่อนที่ต่อ
    การย่อยทางเคมี  
(Chemical Digestion)  บริเวณดูโอดีนัม  จะมีน้ำย่อยจากแหล่งต่าง ๆ มาช่วยย่อย


ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
     ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อนทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการผลิตเอนไซม์ไว้ย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยเข้าไปในลำไส้เล็ก ผ่านทางท่อตับอ่อน หรือที่เรียกว่า pancreatic duct



น้ำย่อยของตับอ่อน
  (Pancreatic Juice)  เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากตับอ่อน  (Pancreas)  มีสภาพเป็นเบส  ประกอบด้วย
        aniberry01_red.gif
 โซเดียมไบคาร์บอเนต  (
NaHCO3)  มีคุณสมบัติเป็นเบส  จึงถือว่าเหมาะสมที่จะทำให้ลำไส้เล็กมีสภาวะเป็นเบส  ซึ่งเอนไซม์ต่างๆ  (จาก  3  แหล่ง)  จะทำงานได้ (ยกเว้น  Pepsin  จากกระเพาะอาหารจะหมดประสิทธิภาพ)  เพราะในขณะที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารมีสภาวะเป็นกรด
        aniberry01_red.gif
 อะไมเลส  (Amylase)  ทำหน้าที่ย่อยแป้ง (Starch)  และ  เด็กทริน (Dextrin) 
มอลโทส (Maltose)
         aniberry01_red.gif ไลเปส  (Lipase)  ทำหน้าที่ย่อยไขมัน (Fat) กรดไขมัน (Fatty Acid)  และ
กลีเซอรอล (Grycerol)
         aniberry01_red.gif ทริพซิโนเจน  (Trypsinogen)  (เมื่อเกิดใหม่ๆ ยังเป็นเอนไซม์ที่ย่อยอาหารไม่ได้  
แต่เมื่อผ่านถึงลำไส้เล็กตอนต้น  จะเปลี่ยนสภาพเป็น Trypsin  โดยอาศัยเอนไซม์ Enterokinase  จากผนังลำไส้เล็กช่วย  เอนไซม์  Trypsin  จะย่อย  Protein  และ  Polypeptide       Peptide (Trypsin  ย่อยโปรตีนต่อจาก  Pepsin  ซึ่งหมดหน้าที่เมื่ออาหารมีสภาพเป็นเบส  เพราะ  Pepsin  ทำหน้าที่ได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดสูง)
        aniberry01_red.gif ไคโมทริพซิน  (Chymotrypsin)  ย่อย  Polypeptide  (ต่อจาก Trypsin )
         aniberry01_red.gif
 คาร์บอกซีเปปติเดส  (Carboxypeptidase)  ย่อย  Peptide ได้ 
Amino Acid 


น้ำดี  (Bile)  สร้างจากตับ  (Liver)  แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี  (Gall Bladder)  ไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์  เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม  เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว (น้ำดีไม่มีน้ำย่อย)  มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ 

       anibutton_red.gif เกลือน้ำดี  
(Bile Salt)  มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (Fat)  แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (Emulsion)  จากนั้นจึงถูก Lipase  ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

        anibutton_red.gif
  รงควัตถุน้ำดี  (Bile Pigment)  เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลลิน (Hemoglobin)  โดยตับ  เป็นแหล่งทำลายและกำจัด  Hemoglobin  ออกจากเซลล์  เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ  โดยเก็บรวมเข้าไว้เป็นรงควัตถุในน้ำดี (Bile Pigment)  คือ บิริรูบิน (Bilirubin)  จึงทำให้น้ำดีมีสีเหลือหรือเขียวอ่อน  และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล  โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดเป็นใสในอุจจาระ
       anibutton_red.gif โคเรสเตอรอล  (Cholesterol)  ถ้ามีมากๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี  เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี  เกิดโรคดีซ่าน  (Janudice)  มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง



สำไส้ใหญ่  มีความยาวประมาณ  1.50 เมตร  กว้างประมาณ  6  เซนติเมตร  แบ่งออกเป็น  3  ส่วนคือ         ซีกัม  (Caecum)  เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้น  ยาวประมาณ  6.3-7.5 เซนติเมตร  มีไส้ติ่ง  (Appendix)  ยื่นออกมาขนาดราวนิ้วก้อย  (ยาวประมาณ  3  นิ้ว)  เหนือท้องน้อย  ทางด้านขวา  ไส้ติ่งถือว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง  ในสัตว์กินพืชจะมีขนาดยาว  ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในคนไม่มีประโยชน์  ถ้าอักเสบต้องรีบผ่าตัดออกโดยเร็ว
   โคลอน  (Colon)  เป็นส่วนที่ยาวที่สุด  แบ่งออกเป็น  3  ส่วนย่อย คือ                โคลอนส่วนขึ้น  (AscendingColon)  เป็นส่วนของโคลอนที่ยื่นตรงขึ้นไปเป็นแนวตั้งฉากทางด้านขวาของช่องท้อง  ยาวประมาณ  20 เซนติเมตร                 โคลอนส่วนขวาง  (Transverse Colon)  เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ  50 เซนติเมตร                โคลอนส่วนล่าง  (Descending Colon)  เป็นส่วนที่วิ่งตรงลงมาเป็นแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของช่องท้อง  ยาวประมาณ  30 เซนติเมตร     ไส้ตรง  (Rectum)  เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่  มีลักษณะเป็นท่อตรง  ยาวประมาณ  15 เซนติเมตร  ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น  ทวารหนัก  (Anus)  โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด  2  อัน ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดด้านใน  ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ  ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ  ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับของจิตใจ  และสำคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก



ทวารหนัก
       ทวารหนัก  (Anus)  ยาวประมาณ  2.5-3.5 Cm.  เป็นส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่  ภายในประกอบด้วยกล้ามเนื้อหูรูด  2  แห่ง  คือ  หูรูดภายใน  (Internal  Sphincter)  และหูรูดภายนอก  (External Sphincter)